วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 8 นโยบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรการเรียนรู้

 นโยบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรการเรียนรู้



1.ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
  1.ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงาน
  2.ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดการกระทำผิด

2.การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอน ต้องทำอย่างไรจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

                -หากภาพประกอบนั้นมีการถ่ายภาพมาโดยมีการสร้างสรรค์โดยใช้ความคิด ความพยายามในการจัดแสง มุมมองภาพที่แปลก หรือปรับแต่งภาพให้สื่อความหมายในรูปแบบต่าง ๆ แสดงว่าภาพนั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์
                -การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
                -การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์จากสื่ออินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ นั้นมาดัดแปลงตกแต่งใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับของเดิมแสดงว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

3.     การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่ม เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่ เพราะเหตุใด

การถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่ม
        กรณีแรกนี้เป็นการถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่ม เมื่อได้พิจารณาจากหลักกฎหมายตามมาตรา ๓๒ วรรคสอง (๑) ซึ่งเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว พบว่า
(๑) ร้านถ่ายเอกสารที่ถ่ายหนังสือทั้งเล่มไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่นักศึกษา เพื่อให้บริการทุกระดับประทับใจ ไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ร้านถ่ายเอกสารย่อมต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเป็นการทำเพื่อแสวงหากำไร แม้จะขายในราคาถ่ายเอกสารก็ตาม กรณีนี้ย่อมหมายความรวมไปถึงกรณีที่มีการจัดประชุมแล้วมีการจัดเอกสารประกอบ การประชุม โดยมีการถ่ายหนังสือทั้งเล่ม แทนการซื้อหนังสือ กรณีเช่นนี้ก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นกัน
(๒) ร้านถ่ายเอกสารที่ถ่ายหนังสือทั้งเล่ม ตามคำสั่งของนักศึกษา โดยหนังสือเล่มนั้นยังคงมีจำหน่ายในร้านค้าทั่วไป กรณีนี้ทำให้ต้องพิจารณาว่า การกระทำของนักศึกษานั้นเข้าข้อยกเว้นของมาตรา ๓๒ วรรคสอง (๑) หรือไม่ เพราะหากถือว่าเข้าข้อยกเว้น ร้านถ่ายเอกสารก็ได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นนี้ด้วย
        ปัญหานี้ เมื่อพิจารณาจากด้านของนักศึกษาโดยพิจารณามาตรา ๓๒ วรรคสอง (๑) แต่เพียงอนุมาตราเดียว จะเห็นว่านักศึกษานั้นได้ถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่มไว้เพื่อศึกษา มิได้เพื่อการจำหน่าย จึงไม่เป็นการค้ากำไรแต่อย่างใด
        แต่อย่างไรก็ดี ข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๒ วรรคสอง (๑) นั้น ต้องอยู่ภายใต้มาตรา ๓๒ วรรคแรก ด้วย คือ จะต้องเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม ปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของ เจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร


4.     สัญลักษณ์นี้หมายถึงอะไร






เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลงควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญา อนุญาตแบบเดียวกันนี้

5. ให้นิสิตหาตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการใช้สัญลักษณ์ สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ มา 2 เว็บไซต์

พร้อมอธิบายความหมาย









http://www.carnamah.com.au
สามารถใช้งานดังกล่าวได้โดยต้องแสดงที่มา เว้นแต่ไม่ใช้เพื่อ วัตถุประสงค์ทางด้านการค้า และไม่ให้ดัดแปลงผลงานดังกล่าวด้วย



http://www.lib.umich.edu/
ให้เผยแพร่หรือดัดแปลงผลงานโดยต้องระบุแหล่งที่มา

6. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดย เฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น เป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้ง ปรับ

มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคล ทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
(1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้น พร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็น เครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14

มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้ เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้อง รับโทษภายในราชอาณาจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น